จิตวิทยาในการทำงาน

จิตวิทยาในการทำงาน สำคัญอย่างไร

การทำงานบางประเภท เราสามารถทำงานด้วยตัวเองเป็นหลัก ไม่ต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่งานบางประเภทต้องมาอยู่รวมกันเพื่อทำงานให้สำเร็จ และการทำงานร่วมกันต้องมีการติดต่อทั้งภายในและนอกองค์กร ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือความต้องการ เพื่อสร้างผลงานที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ขององค์กร และความต้องการของลูกค้า การรู้จักจิตวิทยาและมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน ช่วยให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน และประพฤติตัวได้เหมาะสมกับสถานที่ทำงานที่มีคนหมู่มาก

ภาระหน้าที่ในการทำงาน แบ่งตามแรงขับเคลื่อนได้เป็น 2 ประเภท

  1. แรงขับพื้นฐาน หมายถึง ความต้องการมีชีวิตรอด (Basic need) 
  2. แรงผลักดันส่วนเกิน หมายถึง ทำในสิ่งที่ตนเองอยากทำ

 

จิตวิทยาในการทำงาน

 

แรงขับพื้นฐานและแรงผลักดันส่วนเกิน ทำให้เกิดการทำงาน  2 ประเภท

  1. การทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ มาจากแรงขับพื้นฐาน

             1.1 อาชีพ เป็นการทำงานที่ได้รับผลตอบแทนเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง เพื่อชดเชยกับพลังงานในการทำงาน

             1.2 วิชาชีพ เป็นการทำงานที่ไม่ได้ผลตอบแทนเป็นค่าจ้าง แต่ได้เป็นรูปแบบของค่าธรรมเนียมจากใช้ความรู้ที่มีมาตรฐาน จรรยาบรรณวิชาชีพ เช่น ทนาย แพทย์ หรือวิชาชีพอื่น ๆ ที่มีกฎหมายรับรอง

  1. การทำงานเพื่อความพอใจมาจากแรงผลักดันส่วนเกินทำงานตามความชอบ ไม่ใช้ในการเลี้ยงชีพเช่น งานอดิเรก

 

 

จิตวิทยาในการทำงาน เชิงวิทยาศาสตร์ คือการเปลี่ยนแปลงพลังงานเป็นรูปแบบของงานซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ แบ่งพฤติกรรมการเรียนรู้ ได้ 3 ประเภท ดังนี้

  1. พฤติกรรมที่เรียนรู้จากสิ่งเร้า เช่น ความกลัว ความกังวล ความเครียด
  2. พฤติกรรมที่เรียนรู้จากผลลัพธ์ เช่น ได้รับคำตำหนิในเชิงสร้างสรรค์ นำกลับไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น หรือ ได้รับคำชมเชยก็ขยันมุ่งมั่นทำดีต่อ
  3. พฤติกรรมที่เรียนรู้จากต้นแบบ เช่น การเลียนแบบจากเพื่อน พ่อแม่ ครู รวมถึงไอดอลหรือดาราที่ชื่นชอบ

 

ประโยชน์ของจิตวิทยากับการทำงาน

           พฤติกรรมของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันจากจิตที่ไม่เหมือนกัน พฤติกรรมที่ไม่ดีเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ต้องแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ดี หากวิเคราะห์จิตที่มีผลต่อพฤติกรรมที่ไม่ดี ช่วยให้เราแก้ไขพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสมและตรงสาเหตุ ตัวอย่างคำพูดว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” หมายความว่า จิตสั่งให้ร่างกายกระทำผ่านทางการพูด

ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านหลายๆ ท่าน เข้าใจถึงความสำคัญของจิตวิทยาในการทำงาน และเข้าใจว่าทำไมบุคคคลมีความประพฤติที่แตกต่างกัน การที่เราเข้าใจด้านจิตวิทยาช่วยให้เราพัฒนาและปรับปรุงตัวเองให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงสามารถเรียนรู้พฤติกรรมบางอย่างของเพื่อนร่วมงานได้ดียิ่งขึ้น

 


แหล่งอ้างอิง
https://phad.ph.mahidol.ac.th/research/Book/2556-2552/Psychology.pdf

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

สามารถกด Like เพื่อติดตามบทความดีๆ ก่อนใคร และเป็นกำลังใจให้กับทีมงานค่ะ


This will close in 23 seconds