ขณะที่โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะสถานการณ์ต่างๆ แล้วองค์กรของท่านพร้อมหรือยัง ที่จะให้พนักงานเรียนรู้ด้านการปรับตัวและยืดหยุ่น พร้อมล้มแล้วลุกไปอย่างรวดเร็วกับองค์กรของท่าน (Resilience Skill) ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยถ้าพนักงานขององค์กร ยังยึดติดกับรูปแบบการทำงานแบบเดิม และไม่เปิดรับการเรียนรู้อะไรใหม่ๆ
วันนี้ทาง Consync Group อยากนำเสนอให้องค์กรของท่าน สร้างระบบการเรียนรู้แบบไม่มีที่สิ้นสุด (Lifelong learning) ด้วยทฤษฏี 70:20:10 ที่พัฒนาโดย Morgan McCall, Michael Lombardo และ Robert Eichinger ร่วมกับ Centre for Creative Leadership จนเป็นโมเดลในการพัฒนาและเรียนรู้ที่ได้รับการนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในองค์กรชั้นนำต่างๆ ทั่วโลก โดย 70:20:10 คือกระบวนการเรียบรู้ที่หลากหลาย ด้วยวิธีการ 70 + 20 + 10 = 100 แต่ทั้งนี้กระบวนการเรียนไม่จำเป็นต้องทำให้ครบ 100 ถึงจะเรียนรู้ได้ แต่อาจจะหยิบกระบวนการเรียนรู้มาบางส่วนก็ทำให้พนักงานของเราได้เติมเต็มทักษะใหม่ เป็นตัวเสริมให้พวกเขาทำงานและปรับตัวได้ง่ายขึ้น ซึ่ง Learning Model นี้ ประกอบไปด้วย
Learning Model 70 (Experience) | รายละเอียด |
On the Job Training การเรียนรู้จากปฏิบัติงาน | การเรียนรู้ผ่านการทำงานจริง โดยปฏิบัติจริง สถานที่จริง ลักษณะการสอนเป็นแบบตัวต่อตัว (One-On-one) หรือสอนเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่ทำงาน |
Site Visit การดูงานนอกสถานที่ | การให้พนักงานไปดูระบบงานและขั้นตอนการทำงานของสถานที่เฉพาะนั้นๆ เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในช่วงเวลาสั้นๆ |
Project Assignment การมอบหมายโครงการ | การเน้นการฝึกปฏิบัติจริง โดยสร้างกลุ่มการเรียนรู้สมาชิคและมอบหมายให้รับผิดชอบโครงการระยะยาวร่วมกัน ซึ่งเป็นโครงการพิเศษที่เพิ่มขึ้นจากงานประจำที่ต้องทำ |
Job Enlargement การเพิ่มปริมาณงาน | การมอบหมายปริมาณงานให้พนักงานเพิ่มขึ้น ด้วยลักษณะงานที่มีค่างานไม่ต่างไปจากขอบเขตงานเดิมที่ทำอยู่ในปัจจุบัน แต่เพิ่มขอบข่ายงานมากขึ้น |
Job Enrichment การเพิ่มค่างาน | การพัฒนาที่เน้นการออกแบบลักษณะงาน (JD) โดยทำให้งานแตกต่างไปจากเดิมที่ทำงาน และมอบหมายงานที่ยากขึ้น ท้าทาย และ ทำให้เกิดการคิดวิเคราะห์ รวมถึงการสร้างแผนงานที่มากกว่าเดิม เพื่อให้เกิดความชำนาญในงานหลายๆ ส่วน |
Job Shadowing การติดตามต้นแบบ | การให้พนักงานติดตามเสมือนเงาของบุคลากรที่เราต้องการให้พนักงานได้พัฒนาและเติบโตเป็นแบบนั้น ผ่านงานที่ต้องทำร่วมกัน เช่นการเข้าร่วมประชุมด้วยกัน หรืออยู่ในโปรเจคเดียวกัน |
Job Rotation การหมุนเวียนงาน | การให้พนักงานสร้างทักษะที่หลายหลายด้วยการสลับหรือทดลองเปลี่ยนงาน แทนการเลื่อนตำแหน่งงานที่สูงขึ้น (Vertical Moves) แต่ให้เกิดการเรียนรู้จากงานอื่นๆ ในแผนกเพื่อให้เกิดทักษะใหม่ และหลากหลาย (Multi-skill) |
Learning Model 20 (Interaction) | รายละเอียด |
Coaching การสอนงาน | การสอนงานพนักงานด้วยวิธีการโค้ช ซึ่งทำด้วยการตั้งคำถามและการให้คำแนะนำ เพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานของตนเองได้ ผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์ (Interactive Process) โดยจะทำการสอนเป็นกลุ่มเล็กๆ หรือเป็นรายบุคคล (One on One) |
Mentoring การเป็นพี่เลี้ยง | การพัมนางานแบบมีส่วนร่วม (Developmental Partnership) ซึ่งจะเป็นการสอนจากหัวหน้างานหรือพนักงานที่มีความรู้มากกว่าและชำนาญในเรื่องงานนั้นๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งบางบริษัทก็จะนำไปผูกกับการสอนงานแบบ On boarding Program อีกด้วย |
Meeting การประชุม | การเรียนรู้ที่มาจากการประชุม และแนวคิดที่ถูกนำเสนอและระดมสมองในที่ประชุม (Brainstroming) |
Counseling การให้คำปรึกษา | การให้คำแนะนำเมื่อเกิดปัญหา โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจากภายในองค์กร หรือ ภายนอกเข้ามาช่วยให้คำแนะนำ และเลือกแนวทางที่เหมาะสม จึงอาจต้องขอคำปรึกษาจากหน่วยงานภายนอก |
Learning Model 10 (Education) | รายละเอียด |
Training การฝึกอบรม | การเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มการเรียนรู้ทักษะในการทำงานหรือทักษะทั่วไป เพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการฝึกอบรมระยะสั้น ซึ่งประกอบเป็น 2 รูปแบบดังนี้
|
E-Learning/ Visual learning / Online Learning/ Learning การเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือผ่านระบบออนไลน์ | การเรียนรู้ของพนักงานด้วยเรียนของตนเองเช่น หาความรู้ทั่วไป หรือ การเรียนในระบบ online หรือ การอ่านข้อมูลจาก Internet เพื่อพัฒนาตนเองตลอดเวลา |
จากที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ 70:20:10 อย่างไรก็ดี การเรียนรู้แบบผสมผสาน (blend learning) จะเป็นการช่วยสร้างองค์กรให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด (Lifelong learning) นอกจากพนักงานจะเก่งขึ้น องค์กรก็จะเติบโตขึ้นด้วย ทั้งนี้หากองค์กรของท่านต้องการพัฒนาระบบการเรียน 70:20:10 รวมถึงการนำไปใช้สร้างในแผนการพัฒนางานรายบุคคล (Individual Development Program) และการประยุกต์เพื่อให้สามารถใช้งานได้จริง สามารถติดต่อ Consync Group เพื่อให้คำปรึกษาแก่องค์กรของท่านได้
CONSYNC Group
ขอบคุณภาพถ่ายหน้าปก โดย Moose Photos จาก Pexels