โรคซึมเศร้าจากการทำงาน วิธีการป้องกัน และตรวจเช็คด้วยตนเอง

กด Like ติดตามสาระน่ารู้ใหม่ๆ ได้ก่อนใคร

 

       ปัจจุบันสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ผู้คนเพิ่มมากขึ้น การแข่งขันของคนในสังคมก็สูงขึ้นตาม ทำให้คนวัยทำงานอย่างเราๆ นั้นมีแต่ความเร่งรีบเพื่อที่จะทำเรื่องต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จ ตัวอย่างเช่น เมื่อหัวหน้ามอบงานมาให้ ก็ต้องรีบดำเนินการให้เสร็จทันตามกำหนด  เพื่อที่จะได้ส่งงานและเก็บเงินจากลูกค้า หรือบางท่านอาจจะอยู่ในช่วงว่างงานจากโรคระบาด และเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้หางานได้ยาก เพราะหลายบริษัทพยายามลดค่าใช้จ่าย โดยลดพนักงาน ลดเงินเดือน ไม่จ้างงานคนใหม่ เพิ่มงานให้กับคนเก่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำคนเกิดความเหนื่อยล้า ความกังวล ความเครียดสะสมจากการทำงาน และอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้ ที่นี้มารู้จักกันว่าโรคซึมเศร้านั้นเป็นอย่างไร มีอาการยังไงบ้าง รวมถึงการป้องกันการเป็นโรคซึมเศร้านี้

       โรคซึมเศร้า (Depressive Disorder) หรือ ภาวะซึมเศร้า (Depression) เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ และความรู้สึก โดยผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทภายในสมองซึ้งมี 3 ชนิด 1. ซีโรโตนิน (Serotonin) 2. นอร์เอปิเนฟริน (Norepinephrine) และ 3.โดปามีน (Dopamine) อย่างไรก็ตาม โรคซึมเศร้าไม่ได้นับเป็นโรคผิดปกติทางจิตแต่อย่างใด  ทีนี้เรามารู้จักกับอาการของโรคนี้กันให้มากขึ้นดีกว่า

อาการของโรคซึมเศร้า

  1. ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอารมณ์ที่แปรปรวน   อารมณ์อ่อนไหว ไม่สดชื่น เบื่อทุกอย่างแม้แต่สิ่งที่ตนเองชอบและหลงใหล บางครั้งก็รู้สึกว่าทุกอย่างนั้นขวางหูขวางตา
  2. ความคิดเปลี่ยนไป ไม่มีความมั่นใจในตนเอง มีความลังเลสูง มองทุกอย่างนั้นมีแต่ทางตันไม่มีใครช่วยได้ มองไม่เห็นถึงอนาคต มองแต่อดีตที่ตนเองเคยทำผิดผลาดไว้ รู้สึกว่าตนเองเป็นภาระต่อคนรอบข้างและคิดถึงเรื่องความตายบ่อยครั้ง
  3. ความจำและสมาธิไม่ดี ทำอะไรผิดๆ ถูกๆ ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ต่อเนื่อง หลงลืมบ่อย เหม่อลอย
  4. รู้สึกไม่มีเรี่ยงแรง อ่อนเพลีย ไม่เจริญอาหาร นอนหลับยาก ปวดศรีษะ ไม่อยากจะทำอะไรเลยจนคนอื่นมองว่าเป็นคนขี้เกียจ
  5. เป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัว ไม่รู้สึกอยากเจอใคร หงุดหงิดง่าย
  6. มีอาการประสาทหลอน คือ จะคอยคิดตลอดว่า มีคนมากลั่นแกล้งตนเอง บางครั้งหูแว่วเหมือนมีคนมาพูดคุยด้วย     

        ถ้าผู้อ่านมีอาการเหมือนที่กล่าวมาข้างต้น  ผู้เขียนอยากจะแนะนำว่าให้รีบไปพบแพทย์จะเป็นการดีที่สุด ไม่ต้องเขินอายหรือลังเลใจ เพราะโรคๆ นี้ก็เป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคมเป็นเป็นได้ และยิ่งพบแพทย์เร็วตรวจเจอเร็ว ก็จะทำให้การรักษานั้น มีโอกาสหายเป็นปกติได้เร็วยิ่งขึ้น และที่สำคัญตัวยานั้นก็อาจจะทานน้อยกว่าคนที่เป็นหนัก ส่วนค่ารักษานั้นจะขึ้นอยู่กับยาที่ทานว่ายี่ห้ออะไร แบบไหน จำนวน และระยะเวลา 

วิธีการป้องกันการเป็นโรคซึมเศร้าเบื้องต้น

  1. พยายามหาสิ่งที่ตนเองทำแล้วมีความสุขมากที่สุด อาจจะเป็นกิจกรรม การอ่านหนังสือ การออกกำลังกาย
  2. เมื่อจิตใจว้าวุ่นหรือเริ่มคิดอะไรในทางลบ ให้ลุกออกจากตรงนั้น เดินไปเปลี่ยนบรรยากาศ หายใจเข้าออกลึกๆ
  3. ออกกำลังกายให้ได้เยอะที่สุดเมื่อมีเวลา อาจจะเป็นการ ปั่นจักรยาน วิ่ง เดิน ว่ายน้ำ เตะบอล ตีแบต ตีกอลฟ์ หรืออื่นๆ
  4. อย่าเสพสื่อเสพข่าวมากจนเกินไป และไม่ใช่เวลาเล่นโซลเชียวมากเกินไป
  5. นอนหลับให้เพียงพอและให้เป็นเวลา
  6. อย่าตั้งเป้าหมายสูงกว่าที่ตนเองจะทำได้ เพราะการตั้งเป้าหมายสูงเกินไป เวลาทำไม่ได้ตามเป้าก็จะทำให้ตนเองเครียด

ทางทีมงานหวังว่า บทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านทุกท่านมีเข้าใจและตระหนักถึงโรคนี้กันนะ เพราะโรคภัยไข้เจ็บทุกชนิดนั้นทำให้ผู้ป่วยไม่สบายทั้งกายและใจ รวมทั้งเสียเงินในการรักษาด้วยยิ่งเศรษฐกิจในตอนนี้ ส่วนใครที่กำลังเป็นโรคซึมเศร้า ผู้เขียนอยากจะให้บอกตัวเองว่า เป็นโรคภัยไข้เจ็บแบบนึงเท่านั้น

อย่าไปคาดคั้นว่าจะรักษาหายในวันนี้พรุ่งนี้ เพราะยิ่งจะทำให้เกิดความกดดันและความเครียดเพิ่มขึ้น ให้ใช้ชีวิตแบบปกติ ลดเป้าหมายบางอย่างลง ทานยาตามที่แพทย์สั่งและพบแพทย์ตามที่นัดไว้ และที่สำคัญอีกอย่างนึงคือ ช่วงที่รักษาโรคซึมเศร้าห้ามดื่ม Alcohol ทุกชนิดนะ เพราะไม่ถูกกับยารักษา สุดท้ายผู้เขียนได้หาแบบทดสอบง่ายๆ มาให้ผู้อ่านได้ประเมินตนเองในเบื้องต้นว่า คุณป่วยเป็นโรคซึมเศร้า รึเปล่า?

คลิกที่นี่เพื่อ ตรวจเช็คอาการโรคซึมเศร้า 

 

Uachard Montrivade (เอื้อชาติ มนต์ไตรเวศย์)
Public Relations Manager
CONSYNC Group


References:
https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=29928
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017

บทความที่เกี่ยวข้อง

สามารถกด Like เพื่อติดตามบทความดีๆ ก่อนใคร และเป็นกำลังใจให้กับทีมงานค่ะ


This will close in 23 seconds