Consync Group (บริษัท คอนซิงค์ กรุ๊ป จำกัด) ได้เข้าร่วมงาน HR Hero Summit 2022 งานสัมนาภายใต้ธีม Bringing the new generation of people success ที่ผสมผสานทั้งความรู้และประสบการณ์ตรงจากกลุ่ม HR ที่เชี่ยวชาญ และเหล่า speakers หลากหลายวงการ อาทิ HR NOTE.asia (Thailand), Techsauce, Thitaram group, FORTH EMS , OKR Academy และ T.K.S. Technologies PCL ที่จะมาเล่าประสบการณ์ และแชร์เคล็ดลับความสำเร็จที่คุณสามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ได้จริง
ซึ่งงานสัมมนาในครั้งจัดขึ้นโดย บริษัท โกไฟว์ จำกัด และทีมงาน empeo ในวันที่ 23 พ.ย. 2565 เวลา 13.00-18.00 น. ณ อาคาร เคเอกซ์ ชั้น 7 (The Knowledge Exchange: KX @FL7)
ภายในงานสัมนา HR Hero Summit 2022 ทางทีมงาน Consync Group นำโดย คุณวัฒนศักดิ์ วิบูลย์ชัยกุล (Head of Organization Development) ได้รับเชิญเป็น 1 ใน 7 ของวิทยากรหลัก โดยมีการบรรยายภายใต้หัวข้อ The Future of employee performance post Covid-19 ที่เกี่ยวกับ การดูแลและจัดการกับระบบการทำงานของพนักงานให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในอนาคต หลังช่วงโควิด-19 ซึ่งจะเริ่มบรรยายในช่วงเวลาบ่ายโมง นอกจากนี้ยังสามารถพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมถึงพบปะกับทางทีมงาน Consync Group ได้มากขึ้นที่ บูธ A5
Highlight Keynote
สรุปสาระสำคัญการบรรยายในเรื่อง The Future of employee performance post Covid-19
2 ปีหลังจากโควิด มีสิ่งต่างๆมากมายที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม การดำเนินชีวิตและธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าหัวจิต หัวใจของคนทำงานก็เปลี่ยนไปเช่นกัน จากผลสำรวจของ Gartner จะเห็นได้ว่า หลังจากได้ลองทำงานแบบ WFH ได้พบความเปลี่ยนแปลงหลังโควิด-19 คนทำงานเริ่มมีการตั้งคำถามถึงวิถีชีวิตของตนเอง ในโลกการทำงานหลังโควิด รวมไปถึงตั้งคำถามกับนายจ้างเกี่ยวกับลักษณะการดูแลและการจ้างงานหลังจากนี้ต่อไป ซึ่งเป็นความท้าทายที่เหล่า HR ที่จะต้องพบหลังจากนี้
นอกจากนี้ชาว HR ยังต้องเผชิญกับแรงบีบคั้นอีกสามด้าน หรือ Triple Squeeze ที่จะเข้ามากดดันสภาพการจ้างงานและธุรกิจในปีหน้า โดยแรงที่หนึ่งคือ แรงบีบคั้นทางเศรษฐกิจที่โลกต้องพบกับภาวะเงินเฟ้อ และความเสี่ยงทั้งเรื่องดอกเบี้ย การจ้างงาน และ Geo-politic ที่จะยังคงร้อนแรงในปีหน้า ส่วนแรงบีบคั้นที่สองคือ แรงบีบคั้นด้าน Talent ที่จะยิ่งแก่งแย่งกันมากขึ้นในปีหน้า หลังจากโลกเราเกิด The Great Reshuffle เราก็ต้องเผชิญกับสงความการแก่งแย่งคนอย่างดุเดือด และแรงบีบคั้นสุดท้ายคือแรงบีบคั้นจากความเปลี่ยนแปลง ที่เราจะพบจากการเปลี่ยนแปลงที่ยังคงเพิ่มขึ้น มีการ Disruption ในทุกธุรกิจจากการเติบโตของเทคโนโลยี ซึ่งทั้งสามแรงบีบคั้นนี้ จะทำให้ธุรกิจยิ่งเร่งหา Productivity ที่มากขึ้น ต้องการจะเค้นศักยภาพของพนักงานมากขึ้นไปอีก อันจะทำให้การทำ Performance Management System ยิ่งสำคัญเพิ่มขึ้นไปอีก
ซึ่งในโลกของการทำ Performance Management System ในปัจจุบัน พนักงานและ Line Manager จำนวนมากไม่มีความเชื่อว่าระบบ PMS จะช่วยให้เกิดการสร้างผลงานที่ดีขึ้นได้ ซึ่งก็มีความพยายามมากมายในการแก้ไขปัญหานี้ แต่ความพยายามเหล่านั้นส่วนมากจะเป็นการพยายามแก้ไขที่ระบบ แต่จริงๆแล้วจากผลวิจัยของ Mckinsey ปัญหาของการทำ PMS คือความรู้สึก Fair ที่ได้รับซึ่งจากงานวิจัย มี 3 สิ่งที่สร้างความ Fair คือ
การโค้ชของเจ้านาย – ทำให้ได้รับคำอธิบาย การใส่ใจ และการพัฒนาจากหัวหน้างาน
เป้าหมายของตนเองเชื่อมโยงกับเป้าองค์กร – ทำให้รู้สึกว่าตนเองยังมีความเชื่อมโยง มีคุณค่ากับองค์กรอยู่
ได้รับการจ่ายผลตอบแทนที่มีความแตกต่าง – ทำให้รู้สึกว่าการทำงานได้ดี ได้รับผลตอบแทนที่ดี
ดังนั้นการจัดทำระบบ PMS ในสถานการณ์ใหม่ต้องมุ่งสร้าง Open, Connect และ Balance
- Open โดยการเปิดรับ Feedback ต่างๆ และสร้างการพัฒนาที่ริเริ่มมาจากตัวพนักงานเอง และการประเมินที่มีความ empathy มากขึ้น พิจารณาบริบทที่พนักงานได้เจอประกอบไปด้วย
- Connect โดยการนำเป้าหมายส่วนตัวพนักงานมาควบรวมกับเป้าหมายในการประเมินด้วย ควบคู่กับเป้าหมายขององค์กร เช่นมีการตั้งเป้าการพัฒนา ประสานกับมีการใช้เทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูล สร้างความ fair ในการประเมินมากขึ้น
- Balance พิจารณารอบการประเมินที่สั้นลง และ มีการคำนึงถึงการประเมินผลงานในระบบทีมด้วย เพื่อให้มีการ Balance ผลงานที่ดี และสร้างการพัฒนาผลงานที่ดีจากการประเมิน
สุดท้ายการทำ PMS ไม่มีสูตรสำเร็จที่จะใช้ได้กับทุกองค์กร หากแต่ต้องหาความสมดุล และวิธีการที่เหมาะสมกับแต่ละองค์กรในการทำ PMS ให้สำเร็จทั้งผลงาน และสำเร็จทั้งการดูแลพัฒนาพนักงานควบคู่กันไปด้วย
Highlight Images
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงาน HR Hero Summit >> คลิกที่นี่